วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลงานประจำปี2556

๑. ชื่อผลงาน งานวิจัย/โครงการ/นวัตกรรม โครงการเสริมสร้างกำลังใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ต.ลิปะสะโง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ๒. ที่มาและความสำคัญ ในสถานการณ์ยุคปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้มีความทันสมัยในทุกๆด้านเพื่อความทัดเทียมกับประเทศอื่นๆที่มีการแข่งขันกันในการที่พัฒนาและจากสภาพการณ์ดำเนินชีวิตในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้มีการดำเนินชีวิตที่มีความแตกต่างกัน ทุกครอบครัวต้องมีการดิ้นรนในการประกอบอาชีพเพื่อให้ทันตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ถูกผลักดันให้ทันตามความเจริญต่างๆ บางครั้งการต่อสู้เพื่อให้ทุกชีวิตในครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีจนในบางครั้งทำให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสมาชิกในครอบครัวทำให้เกิดช่องว่างระหว่างครอบครัวได้ และเมื่อสมาชิกในครอบครัวที่เป็นภาวะพึ่งพิงของครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องการ การดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจทำให้บุคคลเหล่านี้เกิดความโดดเดี่ยวและมีความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ไม่มีคุณค่าแก่ครอบครัวส่งผลให้เกิดภาวะความเครียด ดังนั้นพื้นที่ตำบลลิปะสะโงได้เห็นความสำคัญของบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล กลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความสนใจที่จะดูแล เป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่กลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้สึกว่ายังมีคุณค่าในสังคมและเสริมสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป ๓. กระบวนการดำเนินงาน ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลลิปะสะโง เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในเครือข่าย 3. สำรวจข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย 4. จัดทำแผนปฏิบัติการ ขั้นดำเนินการ ดำเนินการเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายตามแผนจากทีมภาคีเครือข่าย ขั้นประเมินผลงานและกิจกรรม 1. สรุปผลการดำเนินการเยี่ยมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละราย พร้อมกับวางแผนการดูแลต่อเฉพาะรายต่อไป 2. ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากข้อมูลการใช้บริการของประชาชนในพื้นที่และการตอบรับของชุมชน ๔. ผลการดำเนินงาน พบว่าจากการดำเนินการเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายจำนวน 46 ราย ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จำเป็นต้องมีผู้ดูแล จำนวน 10 ราย ผู้พิการ จำนวน 24 ราย และผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะซ้อน จำนวน 13 ราย ( หมายเหตุผู้สูงอายุและผู้พิการซ้ำกัน 1 ราย ) จัดออกเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มของผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนและผู้สูงอายุที่เป็นหน้าที่ของรพ.สต.ในการจัดการต่อไป ส่วนปัญหาในด้านโครงสร้างพื้นฐานก็จะมีความจำเป็นและความต้องการแตกต่างกันไปในเรื่องที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยสำหรับกลุ่มนี้จัดเป็นภาระของอปท.ที่ต้องดูแลต่อไป ในคุณภาพชีวิตและการศึกษาก็จัดอยู่ในส่วนที่ภาคีเครือข่ายคือ เกษตร กศน. พัฒนากรแลอื่นๆที่เกี่ยวข้องต้องมาระดมความคิดเพื่อการดูแลต่อไป ๕.ประโยชน์ที่ได้รับ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลร่วมกันโดยภาคีเครือข่ายร่วมกันคือ องค์การบริการหารส่วนตำบลลิปะสะโง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง อสม. สมาชิกอบต. เกษตรประจำตำบล พัฒนากรประจำตำบล กศน.ประจำตำบลและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียด 1. ด้านสุขภาพ รับผิดชอบโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง - จัดบริการด้านสุขภาพแก่กลุ่มผู้สูงอายุในการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคแล้ว - กลุ่มผู้พิการและผู้ดูแล เฝ้าระวังโรคและอุบัติเหตุที่สามารถเกิดและเป็นอันตรายแก่ผู้พิการได้ คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเครียดแก่ผู้ดูแล สนับสนุนให้ผู้พิการได้รับการดูและคำแนะนำในการกายภาพที่เหมาะสม - กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน จัดบริการด้านสุขภาพให้เหมาะสมโดยมีทีมอสม.และสมาชิกอบต.ในการติดตามอย่างต่อเนื่องโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นพี่เลี้ยง 2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รับผิดชอบโดยองค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง - ให้ความช่วยเหลือในด้านโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมตามความจำเป็นและความเหมาะสมแต่ละราย 3. ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต รับผิดชอบโดย กศน. พัฒนากร เกษตรและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุขตามอัตภาพของแต่ละรายโดยมีทีมภาคีเครือข่ายชุมชนเป็นผู้ดำเนินการโดยมีภาคีเครือข่ายภาครัฐเป็นพี่เลี้ยง ๖.ข้อเสนอแนะ: ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการที่ภาคีเครือข่ายและชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยตัวผู้นำชุมชน คือนายกอบต.มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐาน และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีข้อมูลในการสนับสนุนให้ขับเคลื่อนโดยรพ.สต. มีการวิเคราะห์ชุมชนร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมวางแผน และเห็นปัญหาร่วมกัน ทำให้ชุมชนมีความตระหนัก เกิดการทำงานร่วมกันและขับเคลื่อนให้งานดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน นี่คือจุดเริ่มต้นของการมอบโอกาสให้แก่คนกลุ่มนี้ที่คิดว่าตนเองด้อยคุณค่า ให้มีพลังชีวิตต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น